กิจกรรม 22 พฤศจิกายน 2553


ตอบ . . .


ประมาณ 149 หรือ 152 ล้าน km 149คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เปงวงรี แต่ส่วนป่องของโลกจะร้อนเพราะอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์อากาศจะร้อนมาก 152 ล้านkm เปงวงโคจรโลกเราตามปัจจุบัน อีกประมาณ 5000 ล้านปีก็จะไม่มีโลกใบนี้แล้ว เพราะดวงอาทิตย์กำลังขยายตัวและเกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดาวเคราะดวงในจะถูกดวงอาทิตย์กลืนกินเข้าไป
แงๆๆๆ สงสารโลกเราจังอีก 5000 ล้านปีจะถูกดวงอาทิตยฺกลืนกิน ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 149,000,000,000 เมตร หรือ 92,600,000 ไมล์ หรือ149,000,000 กม.



ตอบ



หินละลายรูปหมอน ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปหมอน มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นการที่ลาวาโผล่พ้นน้ำแล้วมีการเย็นตัวลง หินละลายรูปหมอนนี้จัดเป็นหินอัคนีภูเขาไฟ ซึ่งมีหลายขนาด อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้มากถึง 1 เมตร
หินละลายรูปหมอนนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีลาวาสีเข้มถึงลาวาสีกลาง (mafic to intermediate) ปะทุขึ้นมาใต้ผิวน้ำ เช่นบริเวณที่มีจุดร้อน (hotspot) ปะทุขึ้นมา และสัมพันธ์กับขอบเขตโครงสร้างของเทือกสันเขาใต้สมุทร (mid-oceanic ridge) เมื่อมีแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่ จะเกิดหินละลายรูปหมอนขึ้นหนามาก ซึ่งปะทุขึ้นมาตรงจุดศูนย์กลางการกระจายตัว ซึ่งเกิดจากการที่พวก dyke แทรกตัดเข้ามาในตำแหน่งที่ต่ำกว่าที่กะเปาะแมกม่า (magma chamber) หินละลายรูปหมอนเกิดขึ้นสัมพันธ์กับ sheeted dyke complex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำดับหิน ophiolite เมื่อมีบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกยซ้อนทับแผ่นเปลือกโลกทวีป
การปรากฎของหินละลายรูปหมอนที่แก่ที่สุดในพวกหินภูเขาไฟพบที่ Isua and Barberton greenstone belts เป็นการแสดงว่าเคยมีน้ำปริมาณมหาศาลบนพื้นผิวของโลกในยุค Archean ซึ่งหินละลายรูปหมอนนี้แสดงว่ามีกิจกรรมของภูเขาไฟที่เกิดใต้น้ำในบริเวณแถบการแปรสภาพ
หินละลายรูปหมอนอาจพบร่วมกับสภาวะภูเขาไฟกึ่งธารน้ำแข็ง (Subglacial Volcanoes) ในลำดับแรกของการเกิดระเบิด ซึ่งถูกค้นพบด้วย Gabriel A. Doudine และเพื่อนๆของเขา


ตอบ




ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81
ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสตทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไปด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือ
ชั้นดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่
แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้

  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน  
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนเข้าหากัน

 
 

 ตอบ



 ินดินดาน (Shale)
เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบางๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก
 
 


 
                                                                            ตอบ
 
 
เปลือกโลกมิได้เป็นแผ่นเดียวต่อเนื่องติดกันดังเช่นเปลือกไข่ หากแต่เหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า เพลต” (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป กินอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอด



ตอบ



 

 
หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ
 
 

ตอบ


 
ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
                  ชั้นเนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร ใต้ตำแหน่ง Moho
ลงไป ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวทั้งที่เป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า
ชั้นเนื้อโลกประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่มีความหนาแน่นสูง และการที่คลื่นทุติยภูมิสามารถเดินทางในชั้นเนื้อโลกได้ย่อมแสดงว่า
ชั้นเนื้อโลกเป็นของแข็ง ส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ แต่อย่างไรก็ดีส่วนประกอบ
ของชั้นเนื้อโลกยังมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวมากกว่าชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
1. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) ประกอบด้วย dunite, echogite และ peridotite
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (lower mantle) ประกอบด้วยสารจำพวก oxides และ silicate
 

2 ความคิดเห็น: